ขีดจำกัดของโลก 9 ประการ
เรื่องโลกร้อนเป็นแค่ 1 ใน 9 เท่านั้น ! มีอีก 8 ตัว! คุณพระ!!
-----------------------
เมื่อไม่นานมานี้ได้ดูสารคดีเรื่อง Breaking Boundaries: The Science of Our Planet ใน netflix [ https://www.imdb.com/title/tt14539726/?ref_=nv_sr_srsg_0 ] น่าสนใจมาก
หนังพูดเรื่อง The 9 planetary boundaries หรือขีดจำกัดของโลก 9 อย่างที่มนุษย์กำลังสร้างผลกระทบโดยตรง และถ้าข้ามขีดอันตรายไปเมื่อไหร่ จะเกิดผลกระทบลูกโซ่ที่ทำลายระบบนิเวศของโลกอย่างหวนกลับมาไม่ได้อีกต่อไป
ซึ่งในบรรดา 9 อย่างนี้ เรารู้จักเรื่องโลกร้อนดีที่สุด แต่ที่เหลือ มีหลายอันที่มีคนพูดถึงน้อยมากๆ
ขีดจำกัดทั้ง 9 นี้ มีที่มาจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นำโดย Johan Rockstrom [นามสกุลโคตรเท่] แห่งมหาวิทยาลัย Stockholm และวิล สเตฟเฟน (Will Steffen) จากมหาวิทยาลัย Australian National University เอางานวิจัยยาวนานกว่า 5 ทศวรรษ มาสรุปเป็นกระบวนการรักษาสมดุลของโลกให้เราเห็นชัดเจน 9 ประการ โดย Rockstrom เองเป็น presenter ของสารคดีชิ้นนี้ด้วย
นอกจากจะทำความรู้จักขีดจำกัดทั้ง 9 อย่างนี้แล้ว งานวิจัยก็ยังบอกเราด้วยว่าตอนนี้มนุษย์อยู่ในขีดอันตรายระดับไหนแล้วในแต่ละหัวข้อ
-----------------------
สถานการณ์: [Code Red] วิกฤติแล้วจ้า ฉิบหายแล้ว มี 2 ข้อ
1. Biodiversity loss [การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ว่าด้วยการสูญพันธ์ของสัตว์และพืช ใช่ 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ หลักๆมาจากการสูญเสียที่อยู่อาศัยจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อผลิตอาหาร น้ำ และทรัพยากร
- ต่อปี อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน อยู่ที่ 1,000 ต่อ 1,000,000 ชนิด ต่อปี [0.1%] โดยอัตราการสูญพันธุ์ที่ปลอดภัย อยู่ที่ ไม่เกิด 10 ต่อ 1,000,000 ชนิดต่อปี [ 0.001%] เท่ากับเราเลย limit ที่ปลอดภัยมาแล้ว 100 เท่า!
2. Nitrogen Cycle and Phosphorus Cycle [ วงจรไนโตรเจนและฟอสฟอรัส] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ใช้แล้วครับ ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส ในปุ๋ยเคมี NPK นี่แหล่ะ
- เรื่องนี้มีคนรู้น้อยมาก หลักๆคือการที่มนุษย์ผลิตอาหารมากขนาดนี้ เราต้องใช้ปุ๋ยจำนวนมหาศาล เราไปเก็บไนโตรเจนมาจากชั้นบรรยากาศ และขุดฟอสฟอรัสมาจากในดิน แล้วในกระบวนการเกษตร สารเหล่านี้โดนเก็บไว้ในพืชแค่นิดเดียว ที่เหลือไหลลงน้ำลงทะเล หรือกลายเป็นมลพิษในอากาศ
- ซึ่งผลพวงก็มีเช่น ปุ๋ยลงน้ำไปทำให้เกิด Algae Bloom [สาหร่ายเติบโต] ซึ่งพอตายทับถมกัน ก็ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงเรื่อยๆ จนบางที่กลายเป็น "Dead Zone" หรือจุดที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้อีกแล้ว เพราะขาดออกซิเจน ซึ่งทั่วโลกพบอยู่หลายร้อยแห่งแล้ว ปล่อยไปเรื่อยๆจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำระบบนิเวศพังทั้งระบบ
- ตอนนี้เราใช้ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัสเพื่อผลิตอาหาร เกิดขีดจำกัดที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดไว้ ประมาณ 2 เท่าในทุกๆปี
-----------------------
สถานการณ์: [Code Yellow] ต้องเฝ้าระวัง หากไม่เปลี่ยนแปลง วิกฤติแน่
3. Deforestation Land use Changes การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงผืนโลก : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- คือการเปลี่ยนป่าเป็นพื้นที่การเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์[การผลิตเนื้อ ใช้ที่ดินเยอะมาก] ซึ่งนำไปสู่ทั้งความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ [ข้อ 1. ] และเป็นการปล่อยคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ในต้นไม้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งก็ไปสร้างปัญหาภาวะโลกร้อนต่อ รวมถึงการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นกรดอีกด้วย
- ป่าคือ Carbon Sink หรือตัวดูดซับคาร์บอนที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่ในธรรมชาติ การสูญเสียป่า คือการสูญเสียระบบจัดการคาร์บอนของดาวโลก
- การสูญเสียพื้นที่ป่าในประเทศหนึ่ง อาจสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศในระดับโลก (เช่นป่า Amazon เป็นต้น)
4. Climate Change ภาวะโลกร้อน : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- ตัวโหดที่ทุกคนรู้จักดี ตอนนี้เราผ่านจุดที่คาร์บอนในชั้นบรรยากาศ อยู่ที่ 418 ppm [Parts per million] ซึ่งอาจจะนำไปสู่โลกที่อุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 2 องศา ซึ่งเป็นสิ่งที่ Paris Agreement ในปี 2015 ตั้งใจจะทำให้ได้ แต่อย่างไรระดับคาร์บอนได้ออกไซด์ก็ไม่มีทีท่าจะลดลงมาสักกะที ถ้าหากว่าเกิน 500 ppm ขึ้นไป และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราอาจจะจบที่ร้อนชึ้น 4-8 องศา ซึ่งนั่นคือ Game Over แน่นอน
- ตอนนี้น้ำแข็งทะเลในขั้วโลกเหนือลดลงจนไม่น่าจะหวนกลับมาได้แล้ว ทำให้เรายิ่งไม่มีพื้นที่สีขาวมาสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป
- น้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้นกว่าที่คาดการเอาไว้ 3-4 เท่า ถ้ากรีนแลนด์ละลายหมด น้ำทะเลจะสูงขึ้น 7 เมตร
- ตอนนี้ขั้วโลกได้ที่เชื่อว่าละลายได้ยากมาตลอด เริ่มมีอาการแปรปรวนให้เห็น ถ้าละลายหมด น้ำจะสูงขึ้นหลายสิบเมตร
- จุดที่เราจะย้อนกลับไม่ได้ ใกล้เข้ามาทุกที
-----------------------
สถานการณ์: [Code Green] ยังปลอดภัยอยู่ ต้องรักษาระดับเอาไว้
5. Freshwater Use การใช้น้ำจืด : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- เป็นตัวแปรที่ link กับเรื่อง climate change + ระบบการจัดการน้ำของมนุษย์ ซึ่งได้เปลี่ยนวงจรที่น้ำจืดแปรสภาพและไหลเวียนตามธรรมชาติไปโดยสิ้นเชิง การชลประทานนำไปสู่การเปลี่ยนในการไหลของแม่น้ำ การถางป่านำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของวงจรไอน้ำ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่วนใหญ่เปลี่ยนแล้วแก้คืนไม่ได้
- ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่วิกฤติ แต่ก็ต้องระวังดีๆ หากเราเปลี่ยนวงจรน้ำจืดไปเรื่อยๆอย่างไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา อาจจะส่งผลลูกโซ่ต่อเนื่อง สร้างความเสียหายในแบบที่เรายังคาดไม่ถึงได้
6. Ocean Acidification การเป็นกรดของมหาสมุทร : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- ประมาณ 25-30% ของคาร์บอนที่เราปล่อยออกมา ถูกดูดซับโดยน้ำในมหาสมุทร ซึ่งผลพวงของมันก็คือทำให้น้ำทะเลมีความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งก็ไปทำให้ในน้ำมี แคลเซียมคาร์บอเนต ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งปะการัง ทั้งกุ้ง หอย ปู แพลงตอนบางประเภท หรืออะไรก็ตามที่มีเปลือก ใช้ในการสร้างเปลือกป้องกันตนเอง
- พอสัตว์เหล่านี้โตไม่ได้ ก็กระทบบ่วงโซ่อาหาร ในทะเลก็มีปลาน้อยลงเรื่อยๆ
- ตอนนี้น้ำทะเลของเรา มีความเป็นกรดมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับตอนก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม
- อันนี้ link กับเรื่อง Climate change ในเชิงมีสาเหตุร่วมกัน แต่ถือเป็นคนละมาตรวัดกัน
- ถึงยังปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนเรื่องปล่อยคาร์บอนกัน มันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อไป
7. Stratospheric ozone depletion การสลายตัวของชั้นโอโซน : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- อย่างที่รู้กัน โอโซนช่วยกัน UV [ultraviolet] ไม่ให้เข้าสู่บรรยากาศโลก ถ้าไม่มีโอโซนเราก็จะเป็นมะเร็งผิวหนังกันหมด และระบบนิเวศโลกก็จะพัง
- อันนี้เป็นข้อเดียวที่สถานการณ์ดีขึ้นมาก นับตั้งแต่มีการค้นพบปัญหารูโอโซนบริเวณขั้วโลก และมีการระบุชัดเจนว่าสารเคมีชนิดไหนที่เป็นต้นเหตุ นานาชาติก็มีการตกลงแบนสารเหล่านั้นร่วมกันผ่าน Montreal Protocol จนได้ผลนำสถานการณ์อันตรายมาสู่ระดับที่ปลอดภัยได้
- เป็นความหวังของหมู่บ้าน ว่ามนุษย์สามารถรวมตัวกันแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
-----------------------
สถานการณ์: [Unknown] รู้ว่าเป็นปัญหา แต่ยังไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่เกินขีดอันตรายไปได้
- 2 ข้อนี้ คือตัวแปรที่นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่าจะมีผลกระทบกับระบบนิเวศของโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ว่ายังหาคำตอบไม่ได้ว่าขีดอันตรายอยู่ที่จุดไหน
8. Particle Pollution [Atmospheric aerosol loading] สารแขวนลอยในชั้นบรรยากาศ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- ง่ายๆก็คือพวก pm10/ pm2.5 นั่นแหล่ะครับ + สารเคมีต่างๆที่มนุษย์ปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะมีผลกับสุขภาพของมนุษย์แล้ว คือมีผลกับอุณหภูมิของโลกด้วย
- ในขณะที่ก๊าซเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น สารแขวนลอยและมลพิษในอากาศ มีผลกระทบในการสะท้อนแสงอาทิตย์ออกนอกชั้นบรรยากาศ พูดง่ายๆยิ่งอากาศขุ่นมัวมาก อุณหภูมิก็ยิ่งลดลง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะต้องแลกมากับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่มากๆ เป็นผลกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
- นอกจากนั้น สารแขวนลอยเหล่านี้ยังสามารถจับตัวกับไอน้ำ มีผลกับการจับตัวของก้อนเมฆและการเปลี่ยนแปลงของอากาศอีกด้วย
- ซึ่งผลกระทบตรงนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ยังไม่สามารถทราบผลกระทบทั้งหมดได้
9. Chemical Pollution การปนเปื้อนของสารสังเคราะห์ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- มนุษย์เราสร้างสารสังเคราะห์ชนิดใหม่ขึ้นมากว่า 100,000 ชนิด ซึ่งมีทั้งโลหะหนักต่างๆ สารกัมมันตภาพรังสี ไมโครพลาสติก ฯลฯ ซึ่งผ่านอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ สารเหล่านี้ก็ถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ โดยที่เรายังไม่เข้าใจผลกระทบที่พวกมันมีต่อสัตว์ พืช และระบบนิเวศเลย รวมไปถึงผลกระทบที่มันมีต่อคนด้วย [ยกตัวอย่าง จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ว่าการกินไมโครพลาสติกเข้าไป มีผลอะไรกับร่างกายคนบ้าง]
- ทำให้การกำหนดขอบเขตในเรื่องนี้ เป็นไปได้ยากมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่า เป็นตัวแปรที่มีผลต่อระบบนิเวศของโลกแน่นอน
-----------------------
นอกจาก 9 ข้อนี้ ขอฝากคำศัพท์ไว้อีกคำ คือคำว่า [Antropocene]=แอนโทรโพซีน คือชื่ออย่างไม่เป็นทางการของโลกยุคปัจจุบัน โดยยุคก่อนหน้านี้คือยุค Holocene [โฮโลซีน] ที่เริ่มต้นประมาณ 11,700 ปีที่แล้ว หลังยุคน้ำแข็งรอบสุดท้ายจบลง เป็นยุคที่อุณหภูมิของโลกเริ่มคงที่ ทำให้สภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสังคมมนุษย์เกิดขึ้นได้ เป็นสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
แต่มาตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่ายุค Antropocene ได้มาถึงแล้ว มาจากคำว่า Anthropo ที่แปลว่า "คน" ในภาษากรีก ซึ่งอธิบายง่ายๆก็คือ นี่คือยุคที่มนุษย์กลายเป็นตัวแปรหลักในการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและระบบนิเวศของโลก จากที่ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีสปีชีส์ไหนทำแบบนี้ได้มาก่อน สัตว์ทุกชนิดต้องยอมรับสภาวะที่โลกหยิบยื่นให้ มีเราเป็นสปีชีส์แรกที่สามารถเปลี่ยนระบบของโลกได้ด้วยการกระทำของเรา
ขึ้นอยู่กับว่าจะเปลี่ยนไปทางไหนเท่านั้นเอง
Ref
http://www.salforest.com/blog/planetary-boundary
https://en.wikipedia.org/wiki/Planetary_boundaries#/media/File:Planetary_Boundaries.png
https://www.stockholmresilience.org/research/planetary-boundaries/the-nine-planetary-boundaries.html
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/anthropocene/
https://www.imdb.com/title/tt14539726/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「climate change wiki」的推薦目錄:
- 關於climate change wiki 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的精選貼文
- 關於climate change wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於climate change wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於climate change wiki 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於climate change wiki 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於climate change wiki 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於climate change wiki 在 How to contribute climate change information to Wikipedia 的評價
climate change wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
เมื่อขั้วโลกเหนือ กำลังท้าทาย คลองสุเอซ /โดย ลงทุนแมน
เหตุการณ์เรือขนส่งสินค้า Ever Given เกยตื้นขวางคลองสุเอซ
ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลก เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ได้จุดประเด็นให้หลายฝ่ายต้องตระหนักว่า การค้นหาเส้นทางเดินเรือใหม่ ๆ น่าจะช่วยป้องกันความสูญเสียมูลค่ามหาศาลที่อาจเกิดขึ้นเช่นนี้ได้
ไม่กี่วันหลังจากเหตุการณ์นั้น มหาอำนาจโลกตะวันออกอย่างประเทศจีน
ก็เริ่มมีการพูดถึง เส้นทางเดินเรือใหม่
เส้นทางที่ว่านี้ คือการเดินเรือผ่าน “ขั้วโลกเหนือ”
เส้นทางนี้เป็นอย่างไร แล้วจีนเข้าไปเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร
ทั้งที่ไม่มีพื้นที่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนือหรือภูมิภาคอาร์กติกเลย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เพื่อให้เห็นภาพรวมของเรื่องนี้ เราต้องมารู้จักภูมิภาคอาร์กติก ที่เป็นพื้นที่สำคัญของเรื่องนี้กันก่อน
อาร์กติก เป็นภูมิภาคที่อยู่ตรงขั้วโลกเหนือ
โดยถ้าเรามองแผนที่โลกโดยให้ขั้วโลกเหนือเป็นศูนย์กลางนั้น ภูมิภาคอาร์กติก จะมีพื้นที่คล้ายวงกลม โดยมีจุดศูนย์กลางตรงขั้วโลกเหนือ และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 14.1 ล้านตารางกิโลเมตร
โดยดินแดนของอาร์กติกนั้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วย รัสเซีย, ฟินแลนด์, สวีเดน, นอร์เวย์, ไอซ์แลนด์, เดนมาร์ก, แคนาดา และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีความยาวชายฝั่งในอาร์กติกมากที่สุด คือ “รัสเซีย” ที่มีความยาวตามแนวชายฝั่ง 24,140 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 44% ของความยาวชายฝั่งทั้งหมดในอาร์กติก
พื้นที่บริเวณอาร์กติกนี้ ยังถือเป็นแหล่งขุมทรัพย์ของรัสเซีย โดยนํ้ามันดิบกว่า 60% และก๊าซธรรมชาติกว่า 95% ของรัสเซีย ได้มาจากพื้นที่ในเขตนี้
ส่วนมหาอำนาจแห่งโลกตะวันตกอย่าง สหรัฐอเมริกา
มีความยาวตามแนวชายฝั่งในภูมิภาคอาร์กติกเพียงแค่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐอะแลสกา มีประชาชนที่อาศัยในเขตขั้วโลกนี้ประมาณ 7 หมื่นคน ซึ่งน้อยกว่ารัสเซียที่มีมากถึง 2 ล้านคน
พูดได้ว่า รัสเซีย ถือเป็นประเทศที่มีอิทธิพลค่อนข้างมากในแถบอาร์กติก
และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสนใจของพื้นที่ในภูมิภาคนี้ ก็คือ “เส้นทางเดินเรือ”
โดยจุดสำคัญของเส้นทางการเดินเรืออาร์กติกนี้ คือช่องแคบเบริง (Bering)
ซึ่งถ้าหากเรากางแผนที่โลกออกมา ช่องแคบเบริงนี้ ก็คือบริเวณที่คั่นตรงกลางระหว่างพื้นที่ ที่ใกล้กันที่สุดของทวีปอเมริกาและเอเชีย
ช่องแคบนี้จะมีเกาะ Diomede ใหญ่ (Big Diomede) ที่อยู่ในเขตประเทศรัสเซีย และ Diomede น้อย (Little Diomede) ที่อยู่ในเขตของสหรัฐอเมริกาบริเวณรัฐอะแลสกา ซึ่งทั้งสองเกาะมีความห่างกันแค่ 3.8 กิโลเมตรเท่านั้น
โดยเส้นทางเดินเรือขั้วโลกนี้จะขึ้นเหนือผ่านทะเลแบเร็นตส์ตอนเหนือของรัสเซีย แล้วมาโผล่ที่ทะเลนอร์เวย์ทางตอนเหนือของนอร์เวย์ แล้วลงใต้ไปยังเมืองท่าสำคัญของยุโรป
ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจากเรือขนส่งที่ใช้เส้นทางนี้ว่าสามารถย่นระยะการเดินเรือ ได้เกือบ 40%
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเรือออกจากท่าเรือในโยโกฮามะจากประเทศญี่ปุ่น เดินทางไปยังท่าเรือในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
- ถ้าใช้เส้นทางผ่านทะเลจีนใต้ ผ่านช่องแคบมะละกา ทะเลอาหรับ คลองสุเอซ ช่องแคบยิบรอลตาร์ และช่องแคบอังกฤษ
เส้นทางนี้ จะมีระยะทางประมาณ 20,618 กิโลเมตร
- แต่ถ้าใช้เส้นทางเดินเรือที่ขึ้นเหนือ ไปพาดผ่านภูมิภาคอาร์กติก ผ่านช่องแคบเบริง ทะเลแบเร็นตส์ และผ่านทะเลนอร์เวย์
เส้นทางนี้ จะมีระยะทางเพียงแค่ประมาณ 12,982 กิโลเมตร เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เส้นทางการเดินเรือจากโลกตะวันออกไปสู่โลกตะวันตก ผ่านภูมิภาคอาร์กติก ช่วยลดระยะทางลงได้มากเลยทีเดียว
หลายปีที่ผ่านมา เส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าผ่านทะเลอาร์กติกมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 2016 มีเรือขนส่งใช้เส้นทางนี้ 297 ลำ
และปี 2020 มีเรือขนส่งใช้เส้นทางนี้ประมาณ 400 ลำ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 35%
โดยมีการขนส่งสินค้ากว่า 32 ล้านตัน ซึ่งกว่า 18 ล้านตันเป็นการขนส่งก๊าซธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม จำนวนเรือที่ใช้เส้นทางนี้ก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับเส้นทางจากตะวันออกไปตะวันตกผ่านคลองสุเอซ ที่มีเรือขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางประมาณ 19,000 ลำ ตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา
ที่เป็นแบบนี้ เพราะเส้นทางบริเวณอาร์กติก ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่ทำให้การเดินเรือทำได้ยากลำบาก ต้องอาศัยเรือทลายน้ำแข็ง (Icebreaker Ships) ในการนำหรือสร้างเส้นทางให้เรือขนส่งสินค้า
ทีนี้ หลายคนคงกำลังสงสัย แล้วจีนมาเกี่ยวอะไรกับพื้นที่นี้
ทำไมช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นจีน ที่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเส้นทางการเดินเรือผ่านขั้วโลกเหนือ ?
ต้องบอกว่าแม้จีนจะไม่ได้มีพื้นที่ประเทศในเขตอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ
แต่จีนก็เป็นหนึ่งในประเทศ ที่ใช้บริการเส้นทางแถบอาร์กติกเป็นประจำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
จีนอาศัยความใกล้ชิดกับพันธมิตรอย่างรัสเซีย และใช้เส้นทางดังกล่าวในการขนส่งสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ไปยังทวีปยุโรป สอดคล้องกับนโยบาย One Belt One Road ของจีน
ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ นโยบายและแผนงานของรัฐบาลจีนในช่วง 4-5 ปีหลัง จีนมีแผนลงทุนในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งมีพื้นที่อยู่ในอาร์กติก
เช่นปี 2018 มีแผนเช่าซื้อสนามบินใน Kemijärvi ในประเทศฟินแลนด์
นอกจากนั้นจีนยังมีแผนการลงทุนทำเหมืองแร่ที่เกาะกรีนแลนด์ ที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติก
และในปีเดียวกันนั้น รัฐบาลจีนได้จัดทำ “นโยบายพัฒนาขั้วโลกเหนือ” เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านทรัพยากร และเป็นเส้นทางการขนส่งสำคัญ
สรุปคือ จีนก็พยายามเข้ามามีบทบาทและสร้างอิทธิพลในแถบอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ ผ่านการเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และการลงทุนในหลายประเทศแถบอาร์กติก ด้วยเช่นกัน
ส่วนทางฝั่งยักษ์ใหญ่แห่งซีกโลกตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่แม้จะมีรัฐอะแลสกาอยู่ในภูมิภาคอาร์กติก แต่ก็เป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับทางรัสเซีย
ในปี 2019 รัฐบาลของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ ก็พยายามขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ โดยเสนอแพ็กเกจส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 370 ล้านบาท แต่สุดท้ายถูกปฏิเสธจากเจ้าของพื้นที่อย่างรัฐบาลเดนมาร์ก
หมายความว่า สหรัฐอเมริกา ก็มีความพยายามที่จะขยายอิทธิพลในแถบนี้ให้มากขึ้น จากที่ตอนนี้มีดินแดนที่คาบเกี่ยวอยู่ในเขตอาร์กติกเพียงแค่รัฐอะแลสกาเท่านั้น
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ “เรือตัดนํ้าแข็ง”
ที่เป็นพาหนะสำคัญในเรื่องการเดินเรือในเส้นทางสายขั้วโลกเหนือ
ซึ่งปัจจุบันประเทศที่เชี่ยวชาญและครอบครองเรือแบบนี้มากที่สุด ก็คือ รัสเซีย
รัสเซีย มีเรือตัดนํ้าแข็งมากถึงเกือบ 60% ของจำนวนทั้งหมดในโลก และยังมีแผนต่อเรือรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีใหม่ขึ้นทุกปี อย่างเช่น เรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
มากไปกว่านั้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเรื่อย ๆ แบบนี้
ก็คาดกันว่า น้ำแข็งขั้วโลกจะละลายเร็วและมากขึ้น
ทำให้การเดินเรือผ่านเส้นทางนี้สะดวกและเร็วขึ้นด้วย
เท่ากับว่า ในอนาคตถ้าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นจนน้ำแข็งขั้วโลกละลายไปมาก
รวมถึงเทคโนโลยีเรือตัดน้ำแข็งพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ
เส้นทางเดินเรือผ่านขั้วโลกเหนือ ก็น่าจะก้าวขึ้นมามีบทบาทกับการเดินเรือจากโลกตะวันออกไปตะวันตกได้มากขึ้น และก็น่าจะสร้างความท้าทายที่มากขึ้นให้กับเส้นทางเดินเรือที่เป็นที่นิยมในตอนนี้อย่าง คลองสุเอซ
อีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือเราจะเห็นว่าหลายประเทศพยายามเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในพื้นที่อาร์กติกกันมากขึ้น
ทั้งรัสเซีย ที่ถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลจากการมีดินแดนส่วนมากในอาร์กติก
จีน ที่อาศัยความใกล้ชิดกับรัสเซีย และการเข้าไปลงทุนในแถบอาร์กติกเพื่อหวังจะได้ประโยชน์จากทรัพยากรในภูมิภาคอันหนาวเหน็บแห่งนี้
และสหรัฐอเมริกา ที่แม้จะมีดินแดนส่วนน้อยในอาร์กติก แต่ก็น่าจะอาศัยการเป็นพันธมิตรที่สนิทสนมกับแคนาดาและประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ในการเข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่เช่นกัน
ก็ต้องบอกว่า แม้ภูมิภาคอาร์กติก จะปกคลุมด้วยน้ำแข็งและความหนาวเหน็บ
แต่ดูแล้ว การแข่งขันกันมีอิทธิพลในพื้นที่นี้ กำลังร้อนระอุขึ้นเรื่อย ๆ เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://thehill.com/changing-america/sustainability/infrastructure/547041-alaska-gov-warns-china-and-russia-are-taking
-https://www.statista.com/chart/24511/vessels-and-net-tonnage-transiting-the-suez-canal/
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81
-https://www.thenewslens.com/article/131668
-https://www.thenewslens.com/article/125068
-https://insideclimatenews.org/news/03122018/national-security-arctic-icebreaker-funding-emergency-climate-change-coast-guard-military-readiness/
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210405000097-260301?chdtv
-https://newtalk.tw/news/view/2021-04-08/560400
-http://www.thousandreason.com/post12272361026323
climate change wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
Venice เมืองท่องเที่ยวสำคัญของอิตาลี กำลังเจอความท้าทาย จากหลายด้าน /โดย ลงทุนแมน
“ดินแดนแห่งสายน้ำโรแมนติก” คือ ฉายาที่หลายคนมอบให้กับ เวนิส (Venice) เมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อของอิตาลี เมืองที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกใฝ่ฝันจะไปเยี่ยมเยือนสักครั้งในชีวิตนี้
แต่หลังจากที่การระบาดของโควิด 19 ได้สร้างความบอบช้ำต่อเมืองท่องเที่ยวหลายแห่งทั่วโลก เวนิสก็เป็นหนึ่งในเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
และแม้ว่าวันนี้วิกฤติโรคระบาด จะเริ่มจะเบาบางลงไปแล้ว
แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาของเวนิสยังคงไม่จบลง
เวนิส ในตอนนี้ กำลังเจอกับความท้าทายอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เวนิส (Venice) หรือที่ในภาษาอิตาลีเรียกกันว่า เวเนเซีย (Venezia)
เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ ณ แคว้นเวเนโต (Veneto) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี
ในยุคเรอแนซองซ์ ราวศตวรรษที่ 15 เวนิสก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเดินเรือและการค้าของทวีปยุโรป โดยเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญ ระหว่างพ่อค้าอาหรับที่ขนสินค้ามาจากโลกตะวันออก กับพ่อค้าจากยุโรปตะวันตก
สินค้าที่สำคัญและถูกนำมาซื้อขายที่นี่ ก็อย่างเช่น ผ้าไหม เมล็ดพืช เครื่องเทศ
รวมไปถึงงานศิลปะหลายต่อหลายชิ้น เวนิสยังเป็นที่ตั้งของธนาคารแห่งแรกในทวีปยุโรป
ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1156
ความโด่งดังของเวนิสถึงขนาดทำให้ วิลเลียม เชกสเปียร์ นักกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษนำไปเขียนเป็นวรรณกรรมชื่อดังที่คนทั่วโลกรู้จักกัน คือเรื่อง “เวนิสวาณิช”
ปัจจุบัน เวนิสมีประชากรอยู่กว่า 258,000 คน หรือ 0.4% ของจำนวนประชากรของอิตาลี ขณะที่มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 415 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 4 ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร
แม้จะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่มาก
แต่ความสวยงามของเมืองแห่งนี้สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
จนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลายมาเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจของเมืองเวนิสมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18
เมื่อเวนิสเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะเมืองท่องเที่ยว
ก็เริ่มมีธุรกิจเกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยี่ยมเยือน
อย่างเช่น มีการก่อสร้างโรงแรมหรูสุดเก่าแก่ อย่าง Hotel Danieli
และ Caffè Florian ร้านกาแฟ ที่ขึ้นชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
และด้วยสภาพภูมิประเทศของเวนิสที่เป็นหมู่เกาะ
ทำให้เมืองแห่งนี้ มีกระแสน้ำไหลผ่านตลอดเวลา
ซึ่งกระแสน้ำ มักจะมีสีเขียวอมฟ้า ที่ดูสวยงามดุจดังอยู่ในเทพนิยาย
โดยเฉพาะคลอง Grand Canal ที่ถือเป็นคลองหลักหรือเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับล่องเรือชมสภาพแวดล้อมในเมืองเวนิส
คลองแห่งนี้เป็นที่สัญจรของเรือมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “เรือกอนโดลา (Gondola)” เรือพายท้องถิ่นที่ว่ากันว่า ใครที่มาเที่ยวเวนิส ถ้าไม่ได้ขึ้นกอนโดลา จะถือว่ามาไม่ถึงเวนิสเลยทีเดียว
ในปี 2019 เวนิสมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนถึง 26 ล้านคน หรือประมาณ 28% ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังอิตาลี ดังนั้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงมีความสำคัญ เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนของที่นี่อย่างปฏิเสธไม่ได้
อย่างไรก็ตาม หลายปีก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเวนิสกลับต้องเจอกับความท้าทายหลาย ๆ อย่างด้วยกัน
เนื่องจากการเติบโตของนักท่องเที่ยวที่มากเกินกว่าเมืองแห่งนี้จะรับไหว ทำให้ค่าครองชีพในเวนิสเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จนชาวเมืองแท้ ๆ ที่อาศัยอยู่กันมานานหลายชั่วอายุคน
ต้องค่อย ๆ ทยอยย้ายออกจากเวนิสไปอยู่เมืองอื่น ๆ ที่มีค่าครองชีพถูกกว่า
นอกจากนี้ เวนิสยังต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และความเสียหายของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ภายในเมือง ที่เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว
แต่แล้ววิกฤติโควิด 19 ก็กระทบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างหนักในปี 2020
และก็แน่นอนว่า เวนิส ก็คือหนึ่งในเมืองที่ต้องจมอยู่กับความเงียบเหงาในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนั้น เวนิสยังต้องเจอกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
จนนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วม และความไม่สมดุลของระดับน้ำในคลอง
ก่อนหน้านี้ เวนิส เป็นเมืองที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว
โดยน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี 2019 ซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักแก่แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งของเวนิส
อีกไม่กี่เดือนถัดมาหลังเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม
เวนิสกลับเจอปรากฏการณ์น้ำในคลองภายในเมืองลดลงอย่างรวดเร็ว
ซึ่งเหตุการณ์นี้ ไปกระทบกับธุรกิจล่องเรือกอนโดลา ที่ไม่สามารถออกมาพายให้บริการนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาบ้าง เนื่องจากระดับน้ำที่ไม่ปกติ
ในขณะที่สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ทั่วโลกเริ่มมีทีท่าว่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ
หลาย ๆ ประเทศ หลาย ๆ สถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลก กำลังฟื้นฟูและเตรียมตัวรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวในอนาคตอันใกล้
แต่ถ้าหากยังต้องประสบกับเหตุการณ์ความไม่สมดุลของกระแสน้ำแบบนี้ต่อไป
เรื่องนี้ ก็อาจส่งผลต่อความน่าดึงดูดใจของ เวนิส ในวันข้างหน้า
ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องดี สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของเมืองแห่งนี้
อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลอิตาลีได้อนุมัติงบประมาณให้แก่สภาเมืองกว่า 222,000 ล้านบาท เพื่อสร้างแนวกำแพงกั้นน้ำให้เวนิสเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2003 และคาดว่าจะพร้อมใช้งานไม่เกินปี 2022 ที่จะถึงนี้
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า วิธีแก้ปัญหาดังกล่าว จะช่วยลดความท้าทายของเมืองเวนิส ได้มากน้อยแค่ไหน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.statista.com/statistics/587095/number-of-international-tourist-arrivals-in-italy/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tourism_in_Italy
-https://www.statista.com/topics/5979/tourism-in-venice/
-https://www.nytimes.com/2020/07/02/travel/venice-coronavirus-tourism.html
-https://www.equaltimes.org/emptied-of-tourists-venice-is-full?lang=en#.YExcYTris2x
-https://www.businessinsider.com/disappointing-photos-show-venice-italy-expectation-vs-reality-2018-12#the-city-has-a-mere-54500-permanent-residents-11
-https://en.wikipedia.org/wiki/Venice
-https://www.businessinsider.com/low-tides-leave-venices-canals-dry-months-after-heavy-flooding-2021-2
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tourism_in_Italy
-https://www.pri.org/stories/2020-05-25/canals-are-clear-thanks-coronavirus-venice-s-existential-threat-climate-change
-https://www.oecd-ilibrary.org/sites/3d4192c2-en/index.html?itemId=/content/component/3d4192c2-en#:~:text=Tourism%20continues%20to%20make%20an,accounting%20for%208.3%25%20of%20employment.
-https://www.statista.com/statistics/627988/tourism-total-contribution-to-gdp-italy/
climate change wiki 在 How to contribute climate change information to Wikipedia 的推薦與評價
... <看更多>